อูลุฆ เบก
อูลุฆ เบก

อูลุฆ เบก

มีรซา มุฮัมมัด ตาระฆัย บิน ชาห์รุฆ (Chagatay: میرزا محمد طارق بن شاہ رخ, เปอร์เซีย: میرزا محمد تراغای بن شاہ رخ; Mīrzā Muhammad Tāraghay bin Shāhrukh) หรือรู้จักดีในชื่อ อูลุฆ เบก (الغ‌ بیگ; Ulugh Beg, 22 มีนาคม 1394 – 27 ตุลาคม 1449) เป็นสุลต่านแห่งตีมูริด และนักดาราศาสตร์กับคณิตศาสตร์อิสลามอูลุฆ เบก เป็นที่รู้จักจากผลงานในสายงานคณิตศาสตร์และดาราศาสตร์อิสลาม เช่น ตรีโกณมิติ และ เรขาคณิตทรงกลม นอกจากนี้เขายังมีความสนใจในสาขาศิลปศาสตร์เช่นกัน[1][2] ว่ากันว่าเขาพูดได้ห้าภาษา คือ ภาษาอาหรับเปอร์เซียเติร์ก, มองโกเลีย และจีนกลาง[3] ในสมัยปกครองของเขา จักรวรรดิตีมูริด ถือว่าเป็นยุคทองทางวัฒนธรรมและเป็นจุดสูงสุดของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการตีมูริดผ่านความสนใจและการอุดหนุนของเขาเขาเป็นผู้ก่อสร้างหอดูดาวอูลุฆ เบก ในซามาร์กันต์ สร้างขึ้นในปี 1424 ถึง 1429 และได้รับการยอมรับโดยบรรดานักวิชาการว่าดป็นหนึ่งในหอดูดาวที่ดีที่สุดของโลกอิสลามในเวลานั้น รยมถึงยังใหญ่ที่สุดในเอเชียกลาง[1] อูลุฆ เบก จีงได้รับการยอมรับว่าเป็นนักดาราศาสตร์เชิงสำรวจที่สำคัญที่สุดจากศตวรรษที่ 15 โดยนักวิชาการจำนวนมาก[4] นอกจากนี้เขายังสร้างมัดดราซาห์อูลุฆ เบก (1417–1420) ทั้งในซามาร์กันต์และบูฆารา เป็นผลให้ทั้งสองเมืองนี้ได้กลายสภาพเป็นศูนย์กลางการศึกษาของเอเชียกลางในสมัยนั้น[5]อย่างไรก็ตาม ความสามารถในการปกครองของเขาไม่เท่ากับความสามารถทางวิทยาศาสตร์ ในสมัยการปกครองอันสั้นของเขา เขาไม่สามารถสร้างฐานอำนาจและปกครองได้ ผู้ปกครองคนอื่นรวมถึงคนในตระกูลเดียวกันได้ฉวยโอกาสนี้ขึ้นมาควบคุมจักรวรรดิ ท้ายที่สุด อูลุฆ เบก ถูกล้มราชบัลลังก์และถูกลอบสังหารในเวลาต่อมา[6]

อูลุฆ เบก

พระราชบุตร อับดัล-ลาตีฟ มีรซา
ราชวงศ์ ตีมูริด
อาชีพ นักดาราศาสตร์, นักคณิตศาสตร์, ผู้นำการเมือง และ ผู้ปกครองแคว้น
ก่อนหน้า ชาห์ รุฆ
ฝังพระศพ กูเรอามือร์ ซามาร์กันต์ ในที่ไว้ศพกษัตริย์ตีมูร์
ครองราชย์ 1447–1449
พระราชมารดา กาวฮาร์ ชาด
พระราชบิดา ชาห์ รุฆ
สวรรคต 27 ตุลาคม 1449 (อายุ 55)
ซามาร์กันต์ จักรวรรดิตีมูริด (ปัจจุบันอยู่ในแคว้นซามาร์กันต์ ประเทศอุซเบกิสถาน)
ถัดไป อับดัล-ลาตีฟ มีรซา
ประสูติ 22 March 1394
ซุลานนีเยห์ จักรวรรดิตีมูริด (ปัจจุบันอยู่ในจังหวัดซันจัน ประเทศอิหร่าน)
Mirza Muhammad Taraghay
ศาสนา ศาสนาอิสลาม
คู่อภิเษก
  • Aka Begi Begum
  • Sultan Badi al-mulk Begum
  • Aqi Sultan Khanika
  • Husn Nigar Khanika
  • Shukur Bi Khanika
  • Rukaiya Sultan Agha
  • Mihr Sultan Agha
  • Sa'adat Bakht Agha
  • Daulat Sultan Agha
  • Bakhti Bi Agha
  • Daulat Bakht Agha
  • Sultanim Agha
  • Sultan Malik Agha